
นักกิจกรรมบำบัดมีบทบาทสำคัญในการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพให้ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้ด้วยตนเองตามศักยภาพที่มีอยู่ โดยจะทำการประเมินความสามารถและข้อจำกัดของผู้รับบริการอย่างละเอียดรอบด้าน และการให้บำบัดฟื้นฟูเป็นกิจกรรมที่เหมาะสม มีความหมายและเป้าหมายเฉพาะบุคคล มาให้ความช่วยเหลือแก่ผู้รับบริการ
เทคนิคและเครื่องมือสำคัญในกิจกรรมบำบัด
การฝึกกิจวัตรประจำวัน (Activities of Daily Living: ADL Training)
ฝึกกิจวัตรประจำวัน: อาบน้ำ แต่งตัว กิน เข้าห้องน้ำ เคลื่อนย้าย ดูแลตนเอง อย่างปลอดภัยและถูกวิธี ด้วยเทคนิคเฉพาะและปรับสภาพแวดล้อม
การฝึกการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยเหลือ (Assistive Technology Training)
ประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยเฉพาะบุคคล! เพิ่มความสะดวก ทำกิจกรรมง่ายขึ้น เช่น เขียงมือเดียว ด้ามจับเสริม สำหรับผู้มีข้อจำกัด
การฝึกทักษะการเคลื่อนไหวและฝึกทักษะการทำงานของแขนและมือ (Upper Extremity functional training and Hand functional training)
ฟื้นฟูสมรรถภาพครบวงจร! กระตุ้นสหสัมผัส เพิ่มความแข็งแรง ฝึกหยิบจับ เขียน ใช้สองมือ ทำกิจกรรมได้ดีขึ้น
การฝึกทักษะการรับรู้ การเรียนรู้ ความคิดความเข้าใจ (Cognitive and Perceptual Skills Training)
พัฒนาการรับรู้: สมาธิ ความจำ คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา วางแผน จัดการเวลา และมิติสัมพันธ์ เพื่อเรียนรู้และทำกิจวัตรประจำวัน
การกระตุ้นการกลืน (Swallowing Training)
นักกิจกรรมบำบัดช่วยฟื้นฟูการกลืน โดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น ปรับท่าทาง ฝึกกล้ามเนื้อ และปรับเนื้อสัมผัสอาหาร เพื่อลดการสำลักและเพิ่มความปลอดภัยในการกินดื่ม
การส่งเสริมทักษะการมีส่วนร่วมทางสังคม (Social engagement)
ในผู้ป่วยที่พักฟื้นในสถานฟื้นฟูทำให้เข้าสังคมน้อยลง จึงเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและความสัมพันธ์ทางสังคมที่หลากหลาย เช่น การจัดกิจกรรมตามเทศกาลประเพณีของไทย การจัดกิจกรรมกลุ่มเป็นงานประดิษฐ์ หรือการทำอาหารว่าง
ความแตกต่างของบทบาทนักกิจกรรมบำบัด กับ นักกายภาพบำบัด
นักกิจกรรมบำบัดเน้นที่การ ทำกิจกรรมที่มีความหมาย เป็นเป้าหมายหลักของการฟื้นฟู ในขณะที่กายภาพบำบัดมุ่งเน้นไปที่การฟื้นฟู ความสามารถทางกายภาพ เช่น กิจกรรมบำบัดฟื้นฟูความสามารถในการกลับไปทำกิจกรรมดำเนินชีวิต ส่วนกายภาพฟื้นฟูกำลังกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวให้ร่างกายกลับมาแข็งแรง อย่างไรก็ตาม ทั้งสองศาสตร์นี้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อเป้าหมายสูงสุดคือการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น