เน้นการบำบัด ฟื้นฟู ป้องกัน ความบกพร่องของร่างกายซึ่งเกิดเนื่องจากภาวะของโรคหรือการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติ ร่วมกับการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด

กลุ่มผู้รับบริการ เช่น อัมพฤกษ์, อัมพาต, พาร์กินสัน, ออฟฟิศซินโดรม, การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา, หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท

บริการบำบัดด้วยเครื่องมือทางกายภาพ

เครื่องดึงกระดูกสันหลัง

เครื่องดึงกระดูกสันหลัง

คือ เครื่องที่ดึงกระดูกสันหลังให้แยกห่างโดยใช้เครื่องมือ ซึ่งสามารถใช้ได้กับกระดูกสันหลังระดับคอและกระดูกสันหลังระดับเอวเป็นการดึงกระดูกที่สามารถดึงได้นานและต่อเนื่องกัน สามารถเพิ่มหรือลดแรงดึงได้อย่างช้าๆและสม่ำเสมอ

สามารถทำได้ใน

  1. ผู้ที่มีภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นทับเส้นประสาท
  2. ผู้ที่มีภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นทับเส้นประสาท
  3. ผู้ที่มีภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมหรือช่องว่างของกระดูกสันหลังตีบ
  4. ผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อคอและหลังเกร็งตัว
  5. ผู้ที่มีอาการปวดหรือชาจากการกดทับของเส้นประสาท

ข้อห้ามของการดึงกระดูกสันหลัง

  1. กระดูกหัก
  2. ไขสันหลังถูกกดทับ
  3. ระยะพักฟื้นหลังผ่าตัดกระดูกสันหลัง
  4. วัณโรคกระดูกสันหลัง
  5. ภาวะกระดูกพรุนขั้นรุนแรง
  6. ภาวะติดเชื้อของกระดูกสันหลัง
  7. การบาดเจ็บระยะเฉียบพลันหรือระยะอักเสบ
  8. ผู้ที่มีความไม่มั่นคงของข้อต่อ
  9. หญิงตั้งครรภ์
  10. ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า

เป็นเครื่องมือที่ใช้กระแสไฟฟ้าในการบำบัดรักษาภาวะโรคต่างๆ โดยมุ่งเน้นกระตุ้นกล้ามเนื้อแต่ละมัดหรือกลุ่มกล้ามเนื้อ เพื่อให้เกิดการทำงานของกล้ามเนื้อนั้นๆ

โดยการรักษาด้วยการกระตุ้นไฟฟ้ามีหลายประเภท เช่น

  1. Electrical muscle stimulation (EMS) เป็นการเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าในการรักษากล้ามเนื้อที่ขาดเส้นประสาทมาเลี้ยง เพื่อรักษาสภาพกล้ามเนื้อ ชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อที่ขาดเส้นประสาทมาเลี้ยง เช่นเส้นกระสาทถูกขาดจากการที่แขนถูกดึงไปอย่างรุนแรง การบาดเจ็บของเส้นประสาทที่เกิดจากของมีคม เป็นต้น
  2. Neuromuscular electrical stimulation (NMES) เป็นการใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นกล้ามเนื้อที่มีเส้นประสาทมาเลี้ยงปกติ มักใช้กระตุ้นเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ
  3. Transcutaneous electrical nerve stimulation (TENs) เป็นกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในการลดปวด โดยผ่านการกระตุ้นเส้นประสาทผิวหนัง สามารถลดปวดได้ในระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง เช่น กลุ่มอาการปวดหลังส่วนล่าง ปวดเข่า ปวดคอ บ่า ไหล่ เป็นต้น
  4. Interfertial Stimulation (IFC) เป็นกระแสความถี่ปานกลางที่นิยมนำมาใช้ในการลดปวดในระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง เช่น กลุ่มอาการปวดหลังส่วนล่าง ปวดเข่า ปวดคอ บ่า ไหล่ เป็นต้น

ข้อห้ามในการกระตุ้นไฟฟ้า

  1. ผู้ที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (cardiac pacemaker)
  2. บริเวณที่มีการอักเสบหรืออุดตันของหลอดเลือด
  3. บริเวณท้องและหลังของหญิงตั้งครรภ์
  4. บริเวณที่มีเลือดออก
  5. บริเวณที่ห้ามทำการเคลื่อนไหว
  6. บริเวณทรวงอก
  7. ผู้ที่เป็นโรคหัวใจรุนแรง

เครื่องปั่นจักรยานอัตโนมัติ

เครื่องปั่นจักรยานอัตโนมัติ

เครื่องปั่นจักรยานอัตโนมัติ สามารถปั่นได้ทั้งแขนและขา โดยมีหน้าจอแสดงผลแบบดิจิตอล และแสดงผลแบบเรียลไทม์ โดยมีกราฟแท่งแสดงความสมดุลของข้างซ้ายและขวา หรือสามารถเลือกเปลี่ยนให้แสดงผลเป็นภาพถนน เหมือนกำลังปั่นจักรยานจริง เพื่อฟีดแบคผู้ป่วยให้ควบคุมแรงขณะปั่นทั้งสองข้าง นอกจากนั้นสามารถปรับระดับความเร็วได้เอง ซึ่งการปั่นจักรยานนั้นมีประโยชน์ในหลายด้าน ได้แก่ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ และหากปั่นเป็นระยะเวลานานมากกว่า 20 นาที สามารถช่วยในเรื่องของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือดได้อีกด้วย

เหมาะสำหรับ

  1. ผู้สูงอายุ
  2. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและบาดเจ็บไขสันหลัง
  3. ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง

เครื่องเลเซอร์

เครื่องเลเซอร์

เป็นการรักษาด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เครื่องเลเซอร์มีลำแสงที่สามารถทะลุผ่านชั้นเนื้อเยื่อ เพื่อเข้าไปกระตุ้นชั้นเนื้อเยื่อให้เกิดกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บ ซึ่งสามารถลดอาการปวดได้ดีทั้งในระยะเฉียบพลัน ระยะอักเสบ และระยะเรื้อรัง

โดยขณะรักษาทั้งนักกายภาพบำบัดและผู้ป่วยต้องสวมใส่แว่นตาป้องกันแสงเลเซอร์ทุกครั้ง เพื่อป้องกันดวงตาระคายเคืองจากแสงเลเซอร์

ส่วนมากมักเห็นผลทันทีหลังการรักษา การรักษาด้วยเลเซอร์จะช่วยลดระยะเวลาในการรักษา ครั้งละประมาณ 5-10 นาทีต่อจุด

ใช้ได้กับโรค เช่น

  1. ผู้ที่มีอาการปวดกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้อ เอ็นอักเสบ, ปวดหลัง, หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน, นิ้วล็อค ,ข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง
  2. ผู้ที่มีอาการชาจากการกดทับของเส้นประสาท
  3. ผู้ที่มีอาการบวมบริเวณแขนขา หรือ บวมช้ำจากการบาดเจ็บ
  4. บริเวณที่มีแผล เช่น แผลกดทับ แผลเบาหวาน

ข้อห้าม/ข้อควรระวัง

  1. บริเวณตา
  2. บริเวณเนื้องอกหรือมะเร็ง
  3. บริเวณท้องหรือหลังของ
  4. หญิงตั้งครรภ์
  5. มีไข้

เครื่องช็อคเวฟ หรือ คลื่นกระแทก

เครื่องช็อคเวฟ หรือ คลื่นกระแทก

เป็นการรักษาด้วยการใช้คลื่นกระเเทกเพื่อให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำ ร่างกายจะเกิดกระบวนการซ่อมเเซมเนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่สามารถปรับระดับความแรงของคลื่นกระแทกได้ จำนวนนัดที่ใช้ในการรักษาอยู่ที่ประมาณครั้งละ 1500-2000 นัด นอกจากหัวยิงช็อคเวฟแบบลูกปืนแล้ว ยังมีหัวแบบ vibrator เพื่อใช้สำหรับคลายกล้ามเนื้อร่วมด้วย

สามารถลดอาการปวดตึงได้ดี โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการปวดแบบเรื้อรัง เช่น

  1. ออฟิศซินโดรม ตึงบริเวณคอและบ่า
  2. รองช้ำ หรือ เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ
  3. เอ็นข้อศอกอักเสบ
  4. ปวดเรื้อรังบริเวณหลังและสะโพก
  5. ปวดเข่า

ข้อห้าม/ข้อควรระวัง

  1. บริเวณหลัง ของหญิงตั้งครรภ์
  2. ผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน
  3. ผู้ป่วยหลังผ่าตัด
  4. ผู้ที่มีแนวโน้มเลือดออกง่าย
  5. บริเวณใกล้เครื่องกระตุ้นหัวใจ
  6. บริเวณที่เป็นมะเร็งหรือเนื้องอก
  7. บริเวณที่ผ่าตัดใส่เหล็ก
  8. บริเวณที่มีแผลเปิด หรือ แผลติดเชื้อ

เครื่องอัลตราซาวด์

เครื่องอัลตราซาวด์

เป็นการรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียงความถี่สูง โดยเครื่องนี้จะเปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานความร้อน ส่งผ่านเข้าไปในเนื้อเยื่อชั้นลึก โดยผ่านตัวกลาง ซึ่งก็คือ เจลอัลตราซาวด์ สามารถลดอาการปวดและอักเสบได้ทั้งระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยปรับเลือกคลื่นให้ออกแบบต่อเนื่องหรือเป็นช่วง และยังสามารถปรับระดับความเข้มได้ ซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกอุ่นเล็กน้อยหรือปวดเล้กน้อยเมื่อคลื่นเคลื่อนผ่านบริเวณจุดกดเจ็บ

เหมาะสำหรับ

  1. ออฟฟิตซินโดรม จุดกดเจ็บบริเวณคอ บ่า ไหล่ สะบัก
  2. ปวดหลังและสะโพก
  3. ข้อไหล่ติด
  4. นิ้วล็อค
  5. ปวดเข่าและข้อเท้า

ข้อห้าม/ข้อควรระวัง

  1. บริเวณตา
  2. บริเวณที่มีเลือดอออกหรือติดเชื้อ
  3. บริเวณเนื้องอกหรือมะเร็ง
  4. บริเวณท้องหรือหลังหญิงตั้งครรภ์
  5. บริเวณที่ขาดเลือดมาเลี้ยง
  6. บริเวณใกล้เครื่องกระตุ้นหัวใจ
  7. ผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  8. บริเวณที่ใส่โลหะฝังอยู่ภายใน
  9. ผู้ที่แพ้ความร้อน

เครื่องคลื่นกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (PMS)

เครื่องคลื่นกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้า (PMS)

PMS คือ Peripheral Magnetic Stimulation เครื่องกระตุ้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแขนหรือขาส่วนปลาย นักกายภาพเป็นคนทำการรักษา โดยวางจ่อหรือเคลื่อนไปตามบริเวณที่ต้องการรักษา ข้อดีคือ สามารถทำผ่านเสื้อผ้าได้ และคลื่นไม่ได้ลดประสิทธิภาพลงเมื่อผ่านเสื้อผ้า

หัวขดลวดที่ใช้ในรักษามีทั้งขนาดเล็ก ซึ่งเหมาะสำหรับบริเวณลำคอ หรือ บริเวณใบหน้า และหัวขดลวดขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับบริเวณใหญ่ๆ เช่น สะบัก แขน ขา หลัง หรือ สะโพก

ระยะเวลาในการรักษาประมาณครั้งละ 30 นาที

TMS และ PMS ต่างกันยังไง

Transcranial Magnetic Stimulation เครื่องกระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คุณหมอเป็นคนทำการรักษา โดยวางหัวกระตุ้นที่กะโหลกศีรษะ ตรงกับตำแหน่งของสมองที่มีปัญหา เพื่อกระตุ้นหรือยับยั้งการทำงานของสมองส่วนนั้น ส่วน PMS จะใช้บริเวณแขนหรือขาส่วนปลาย ซึ่งนักกายภาพเป็นคนทำการรักษา

PMS สามารถใช้รักษาโรค เช่น

  1. ลดอาการเกร็งในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
  2. ลดอาการปวดกล้ามเนื้อในผู้ป่วย office syndrome
  3. ลดอาการชาปลายมือปลายเท้า จากเส้นประสาทถูกกดทับหรือเบาหวาน
  4. เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  5. กระตุ้นกล้ามเนื้อในผู้ป่วยกล้ามเนื้ออัมพาตใบหน้า
  6. กระตุ้นกล้ามเนื้อบริเวณลำคอในผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก

ข้อห้าม/ข้อควรระวัง

  1. ผู้ที่มีอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ฝังในร่างกาย เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เครื่องหูเทียมไฟฟ้าชนิดฝังในตัว สายระบายน้ำในโพรงสมองแบบอัตโนมัติ เป็นต้น
  2. ผู้ที่มีอาการชักที่ไม่สามารถควบคุมได้
  3. ผู้ที่มีโลหะฝังบริเวณศีรษะ เช่น ตะแกรงขยายหลอดเลือดสมอง คลิปหนีบเส้นเลือดโป่งพองในสมอง เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ป่วยที่มีโลหะในบริเวณอื่นๆที่ไม่ได้ถูกกระตุ้นโดยตรงสามารถทำได้
  4. บริเวณดวงตา

บริการบำบัดด้วยการนวด

การนวดบำบัด

โปรแกรมการรักษาด้วยการนวดบำบัดด้วยเทคนิคกายภาพบำบัด

การนวดด้วยมือ

ประกอบด้วย

  • การนวด ออฟฟิศซินโดรมมาสสาด
  • การนวดกระตุ้นกล้ามเนื้อ
  • การนวดกระตุ้นกล้ามเนื้อสำหรับนักกีฬา
  • การนวดคลายกล้ามเนื้อ

โดยใช้เทคนิค

  • Stroking คือ การใช้ฝ่ามือลูบไปตามส่วนต่างๆ ในการรักษา โดยลูบอย่างช้าๆ สม่ำเสมอ และทำมือให้เหมาะสมกับบริเวณที่นวด เช่น กล้ามเนื้อใหญ่และกว้าง ก็กางนิ้วออกให้ครอบคลุมพื้นที่ การใช้เทคนิคนี้จะใช้ในการเริ่มต้น และการจบในการให้การรักษา
  • Thumb, Digital, Alter Palmar, Palmar Kneading เป็นการกดและคลายสลับกันอย่างเป็นจังหวะ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือ เพิ่มเติม
  • ใช้เทคนิค Plama Kneading ใช้ฝ่ามือข้างเดียวหรือสองข้าง ซ้อนกัน กดแล้วคลาย ใช้นวดบริเวณแขนและขา Picking Up คือการใช้อุ้งมือจับกล้ามเนื้อดึงขึ้นจากกระดูก แล้วดันขึ้นแล้วปล่อย
  • Deep Friction เป็นการนวดที่ใช้แรงกดมาก เพื่อให้ได้ผลลึกและเฉพาะที่ เพื่อให้การยึดติดของเนื้อเยื้อบริเวณนั้นคลายออก โดยเคลื่อนไหวในทิศทางขวางใยกล้ามเนื้อ
  • Skin Rolling เป็นการหยิบยกผิวหนังขึ้นจากเนื้อเยื้อชั้นใต้ลงไป แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือดันผิวหนัง ให้เคลื่อนม้วนตัวไป แล้วหยิบใหม่ เป็นการลดการยึดติดของชั้น Subcutaneous กับ Fascia

โดยในการให้การรักษา จะแยกออกด้วยจากระยะเวลา ความหนักเบา และลำดับขั้นตอนในการใช้เทคนิคในการรักษา ขึ้นอยู่กับการประเมิน การวางแผนในการให้การรักษา ระหว่างผู้รับบริการและนักกายภาพบำบัด อีกครั้ง

หมายเหตุ

ระยะเวลาและขั้นตอนในการรักษาขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของอาการ และการประเมินจากนักกายภาพ แต่จะมีการวางแผนการรักษา กับผู้รับบริการก่อนทำการรักษาทุกครั้ง

การนวดเปิดท่อน้ำนม

การนวดด้วยมือ

ปัญหาท่อน้ำนมอุดตัน เป็นปัญหาที่คุณแม่หลังคลอด หลายๆคนต้องเผชิญ ซึ่งปัญหานี้มักเกิดจากการอุดตันของท่อน้ำนม จากการที่มีน้ำนมข้น และทำให้ไหลไม่สะดวก ในบางรายอาจมีก้อนไตแข็งๆ อยู่ตามบริเวณต่างๆ ในเต้านม หากมีอาการมาก หรือปล่อยไว้ จะเป็นสาเหตุให้เกิดอาการเต้านมอักเสบได้

อาการของท่อน้ำนมอุดตัน

  • รู้สึกปวด คัดบริเวณเต้านม จนรู้สึกระบม
  • มีอาการบวมแดง และกดเจ็บ บริเวณก้อนแข็งๆ ในส่วนต่างๆ ของเต้านม
  • น้ำนมไหลไม่สะดวก ไหลได้น้อย หรือไหลช้า
  • หากเป็นมากๆ มักจะมีไข้ จากการที่เต้านมอักเสบ

การอัลตร้าซาวด์เปิดท่อน้ำนม

การทำงานของเครื่องอัลตร้าซาวด์ จะเป็นการใช้คลื่นเหนือเสียง ส่งลงไปในระดับเซลล์ เพื่อส่งผลให้เกิดความร้อน ความร้อนนี้จะไปทำให้หลอดเลือดขยายตัว และทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น เมื่อเลือดไหลเวียนได้ดีขึ้นก็จะช่วยลดก้อนแข็งบริเวณเต้านมได้เป็นอย่างดี

การนวดเปิดท่อน้ำนม

ในน้ำนมที่ค้างอยู่ภายในเต้านมจะมีองค์ประกอบอื่น ๆ อีก นอกเหนือจากน้ำนม เช่นสารคัดหลัง หรือของเสียอื่น ๆ ซึ่งการนวดเปิดท่อน้ำนม นอกจากทำเพื่อเป็นการเปิดทางให้น้ำนมไหลสะดวกขึ้นแล้ว ยังช่วยให้สารคัดหลั่ง/ของเสียต่าง ๆ ไหลกลับไปสู่ท่อน้ำเหลืองได้ดีขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้การนวดจะช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนม และลดโอกาสในการเกิดการอุดตันของท่อน้ำนมซ้ำได้เป็นอย่างดี